วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประโยชน์ของไม้ดอกไม้ประดับ

ประโยชน์ของไม้ดอกไม้ประดับ

1. การใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน 
  1.1 ใช้ไม้ดอกไม้ประดับเพื่อก่อให้เกิดความสวยงาม เช่น ร้อยพวงมาลัย ตกแต่งอาคารสถานที่ 
  1.2 ใช้ไม้ดอกไม้ประดับเพื่อความสดชื่น สบายใจ หรือฟื้นฟูสภาพจิตใจ เช่น การจัดกระเช้าดอกไม้หรือจัดแจกันให้ผู้ป่วยเกิดความสดชื่น 
  1.3 ช่วยลดการเกิดวัชพืช ไม้ดอกไม้ประดับบางชนิดสามารถปลูกคลุมดินได้เป็นอย่างดี ช่วยรักษาระดับอุณหภูมิและความชื้นภายในดิน 
  1.4 การใช้ประโยชน์จากไม้ดอกไม้ประดับเพื่อเป็นยารักษาโรค เช่น ดอกบัว ดอกพิกุล ฯลฯ 
  1.5 การใช้ประโยชน์จากไม้ดอกไม้ประดับในการประกอบอาหาร เช่น การใช้สีจากใบเตย ดอกอัญชัน ฯลฯ 
  1.6 การใช้ประโยชน์จากไม้ดอกไม้ประดับในงานพิธีต่างๆ เช่น วันเกิด วันแห่งความรัก งานแต่งาน ฯลฯ 
  1.7 ใช้แสดงความยินดีและใช้โอกาสต่างๆ เช่น การได้เลื่อนตำแหน่งใหม่ รับปริญญา ฯลฯ 

2. การใช้ประโยชน์ที่ก่อให้เกิดรายได้หรือการประกอบธุรกิจ 
  2.1 การปลูกไม้ดอกไม้ประดับเพื่อเป็นรายได้เสริม เช่น การปลูกเป็นพืชแซม หรือในสวนบริเวณบ้าน เช่น พวกปริก 
  2.2 การปลูกไม้ดอกไม้ประดับเพื่อการค้า หรือจำหน่ายทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น กล้วยไม้ กุหลาบ เบญจมาศ แกลดิโอลัส เยอบีร่า มะลิ ดาวเรือง บัว เอสเตอร์ เป็นต้น 
  2.3 ก่อให้เกิดธุรกิจเกี่ยวเนื่อง เช่น การค้าปลีกดอกไม้สด การค้าปลีกดอกไม้แห้ง การจัดสวน การท่องเที่ยว 
  2.4 ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับไม้ดอกไม้ประดับอย่างมาก เช่น ธุรกิจการจัดสวน ซึ่งปัจจุบันธุรกิจทางด้านนี้เติบโตมาก 



ที่มา : http://wilaiwarn.brinkster.net/d10.html

การเลือกซื้อไม้ดอกไม้ประดับ

การเลือกซื้อไม้ประดับ

        ก่อนที่จะซื้อต้นไม้เข้ามาปลูกภายในบ้าน ควรจะต้องมีการวางแผนเอาไว้ล่วงหน้าเสียก่อน ไม่ใช้ไปพบเข้าโดยบังเอิญและเกิดชอบใจก็ซื้อกลับบ้าน คุณจะต้องแน่ใจก่อนว่าสภาพแวดล้อมภายในบ้านเหมาะกับต้นไม้ชนิดที่ต้องการหรือไม่ ถ้าคุณเริ่มต้นที่จะปลูกต้นไม้เป็นครั้งแรก อาจเริ่มต้นโดยการซื้อต้นไม้ที่มีความทนทานต่อทุกสภาพอากาศ เมื่อเลี้ยงให้รอดและเจริญเติบโตได้แล้วก็ค่อยเขยิบขึ้นไปทีละขั้นจนคุณมีความชำนาญ ค่อยหาพันธุ์ไม้ที่เลี้ยงยากมาปลูก
        การปลูกต้นไม้ภายในบ้านนั้นคุณต้องไม่ลืมว่าต้นไม้ต้องการแสง น้ำ อากาศ อุณหภูมิ ความชื้นและอาหาร เช่นเดียวกับต้นไม้ที่อยู่นอกบ้าน เพราะฉะนั้นก่อนที่คุณจะซื้อต้นไม้เข้ามาประดับภายในบ้าน คุณต้องรู้ถึงความต้องการของต้นไม้ว่าต้นไม้ชนิดนั้นต้องการปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตมากน้อยแค่ไหน เพราะต้นไม้แต่ละอย่างย่อมมีความต้องการที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งข้อมูลเหล่านี้คุณอาจถามมาจากผู้ขายโดยตรงก็ได้
        สิ่งสำคัญอีกอย่างที่คุณต้องคำนึงถึงก็คือถ้าในบ้านของคุณมีเด็กหรือเลี้ยงสุนัข คุณตะต้องมีการเตรียมการป้องกันไว้ล่วงหน้าเสียก่อน เช่นกรณีที่คุณจะตั้งกระถางต้นไม้ไว้ที่พื้น คุณจะต้องหาพืชที่ทนทานต่อการเสียดสีหรือการจับต้องพอสมควร ส่วนต้นไม้ที่บอบบางเสียหายง่าย ควรจัดให้อยู่ในที่สูงหรือบริเวณที่จะไม่ถูกการจับต้องเสียดสีบ่อยนัก อีกข้อหนึ่งที่คุณไม่ควรจะลืมก็คือ คุณมีเวลาเหลือพอที่จะดูแลต้นไม้ที่คุณซื้อมาปลูกบ้างหรือไม่ถ้าคุณพร้อมแล้วก็ไปเลือกซื้อต้นไม้มาประดับบ้านกันได้เลย



ข้อควรคำนึงในการเลือกซื้อไม้ประดับ

1. ควรซื้อจากร้านที่มีชื่อเสียงเชื่อถือได้ หรือซื้อจากสวนที่ผลิตโดยตรง
2. ไม่ควรซื้อต้นไม้ที่ตั้งขายอยู่นอกร้าน
3. ไม่ควรซื้อต้นไม้ที่มีตำหนิหรือร่องรอยของความเสียหายจากโรคและแมลง
4.ตรวจดูกระถางและกันกระถางให้ดีอย่าเลือกต้นไม้ที่ปลูกอยู่ในกระถางที่มีรอยร้าวหรือแตกอย่างเลือกต้นไม้ที่รากโผล่ออกมาจากรูก้นกระถาง แล้วเป็นอันขาด เพราะทั้งสองอย่างนี้จะทำให้เกิดความเสียหายในขณะเคลื่อนย้ายได้
5. ไม่ควรซื้อต้นไม้ที่ดินในกระถางแฉะ เพราะนั้นแสดงว่าน้ำในกระถางไม่สามารถระบายออกไปได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหารากและโคนเน่าได้
6. ในกรณีที่เป็นไม้ดอก ควรเลือกเอาต้นที่ดอกกำลังตูมเต็มที่ยังไม่บาน
7. จะต้องดูจนแน่ใจว่าต้นไม้ที่ซื้อนั้นไม่มีร่องรอยหรือตำหนิใด ๆ เลย
8. ไม่ควรซื้อต้นไม้ที่ใบเหี่ยว ใบลู่ลง หรือได้รับความเสียหายเป็นอันขาด
9. ไม่ควรซื้อต้นไม้เพราะเห็นว่าราคาถูกเป็นอันขาด
10. ขณะนำต้นไม้กลับบ้าน ควรระมัดระวังอย่าให้ต้นไม้ได้รับความกระทบกระเทือนโดยเด็ดขาด

ที่มา : http://webserv.kmitl.ac.th/s0050264/ArticleChoose.htm

การปลูกไม้ดอกไม้ประดับในอาคาร

การปลูกเลี้ยง ต้นไม้ภายในอาคาร

ข้อปฎิบัติเมื่อนำต้นไม้มาถึงบ้าน 
      1. อย่าให้น้ำทันทีที่ต้นไม้มาถึง ควรนำต้นไม้ไปตั้งไว้ในที่ร่มเย็นสบาย อากาศถ่ายเทได้สะดวก
      2. ในระยะแรกควรให้น้ำแต่น้อย อย่าให้มากจนแฉะขัง
      3. เมื่อต้นไม้สามารถปรับตัวได้แล้วคือประมาณ 2-3 สัปดาห์ จึงนำไปวางไว้ในตำแหน่งที่ต้อง
      4. ให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
      5. อย่าพึ่งให้ปุ๋ยใด ๆ แก่ต้นไม้เป็นอันขาด
      6. อย่ากระทำการใด ๆ กับต้นไม้ที่ใบและดอกร่วง นั้นคือผลจากการกระทบกระเทือนในขณะที่ขนต้นไม้มาบ้าน
      7. เมื่อต้นไม้ตั้งตัวได้ดีแล้ว คือประมาณ 30-50 วัน จึงให้ต้นไม้ได้รับแสงแดดบ้างในช่วงเช้าที่แดดไม่ร้อนจัดจนเกินไป

ข้อควรคำนึงในการตั้งกระถางไม้ประดับ
      1.ไม่ควรตั้งกระถางไม้ประดับในที่ที่มีลมพัดแรงๆหรือมีไอร้อนหรือไอเย็นพัด ผ่านออกมาอยู่ตลอดเวลาเพราะไม้ประดับส่วนมากไม่ชอบลมโกรกหรือ มีอุณหภูมิสูง เนื่องจากจะมีการะเหยของน้ำออกมามากจนต้นไม้นั้นเหี่ยวเฉาตายได้
      2. ต้องสังเกตหรือพิจารณาถึงแสงแดดหรือแสงสว่างเพราะไม้ประดับนั้นมีความต้อง การแสงที่แตกต่างกันบางชนิดที่ต้องการแสงมากก็อาจตั้งไว้ใกล้กับ ประตูหน้าต่างหรือในที่ที่แสงสว่างส่องมาได้มากแต่บางชนิดที่ต้องการแสงน้อย ก็ไม่ควรวางใกล้กับประตูหรือหน้าต่าง
      3.ไม้ประดับที่มีกิ่งก้านเป็นพุ่มและต้องการเนื้อที่มากใม่ควรนำมาตั้ง ประดับใกล้กับทางเดินหรือทางเข้าออกเพราะจะทำให้กีดขวางต่อการสัญจรไปมา และอาจเป็นอันตรายต่อต้นไม้นั้นได้
      4.ไม่ควรนำสิ่งใดมาผูกมัดกับไม้ประดับในกระถาง เพื่อตกแต่งประดับประดาสถานที่เป็นอันขาด
      5. การใช้ไม้ประดับเพื่อตกแต่งภายในอาคารนั้น จำเป็นต้องมีไม้เพื่อสับเปลี่ยนไม่ควรใช้ไม้ประดับชุดเก่านานเกินไป เพราะจะทำให้โทรมได้
      6. กระถางไม้ประดับนั้นควรจะมีจานรองก้นกระถาง เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำไหลออกจากรูกระถาง จนก่อให้เกิดความสกปรกเลอะเทอะ
      7.ไม้ประดับที่ใช้ในอาคารนั้นควรมีความสูงไม่เกิน 6 ฟุต เพราะจะทำให้รก นอกจากจะเป็นอาคารที่มีหลังคาสูง
      8. ควรระวังอย่าให้ไม้ประดับในกระถางรกเป็นอันขาดเพราะอาจเป็นที่ซุกซ่อนของ สัตว์ร้ายเช่นงูหรือเป็นที่อยู่ของยุงและไม่ควรใช้ยาปราบศัตรูพืช กับไม้ประดับับในอาคาร
      9. อย่าลืมว่าไม้ประดับที่อยู่ในกระถางนั้น ก็เหมือนกับสัตว์เลี้ยงที่อยู่ในกรง นอกจากจะให้น้ำแล้ว ยังจะต้องไม่ลืมให้อาหารคือปุ๋ยอีกด้วย
    10. การรดน้ำไม้ประดับที่อยู่ในอาคาร ควรรดแต่เฉพาะที่โคนต้น




ที่มา : http://prthai.com/articledetail.asp?kid=7776

การปลูกไม้ดอกไม้ประดับนอกอาคาร

วิธีปลูกไม้ประดับนอกอาคาร


       บ้านเรือนส่วนใหญ่มักปลูกต้นไม้ภายนอกอาคารทั้งไม้ดอกและไม้ประดับเพื่อความสวยงามมาเรียนรู้ วิธีการดูแลต้นไม้นอกอาคารกัน ดังนี้

1. เลือกดินที่มีความเหมาะสมกับความต้องการพันธุ์ไม้ประดับที่จะปลูก

2. การขุดหลุมปลูก ควรพิจารณาถึงขนาดของพืช โดยพิจารณากลุ่มรากและขนาดของทรงพุ่ม

3. ขุดดินขึ้นมาแล้วให้แยกดินส่วนบนหรือหน้าดินและดินส่วนล่างไว้ต่างหากกันคนละกอง โรยปูนขาวให้ทั่วทั้งหลุมและดินที่กองไว้ แล้วตากแดดเอาไว้ก่อนประมาณ 2 สัปดาห์

4. รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักหรือจะใช้ใบไม้แห้งผสมกับปุ๋ยคอกเก่า ๆ แทนก็ได้

5. นำดินส่วนบนลงไปแล้วคลุกให้เข้ากันกับปุ๋ย

6. นำพันธุ์ไม้ที่ต้องการจะปลูกวางลงไป จัดให้ตรงอย่าให้เอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง แล้วหาไม้มาปักลงไป
ในหลุมเพื่อยึดต้นไม้ไว้

7. นำปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่า ๆ มาผสมคลุกเคล้ากับดินอีกกองที่เหลือซึ่งเป็นดินล่าง ใส่ลงไปในหลุมแล้วกดให้แน่นแล้วรดน้ำให้ชุ่ม

8. ถ้าหากปลูกในหน้าแล้งควรทำคันดินเพื่อให้เก็บน้ำที่โคนต้นด้วยแต่ถ้าหากเป็นหน้าฝนควรพูนดินที่โคนต้นให้สูงขึ้น เพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง

9. กรณีที่ปลูกไม้ประดับที่มีขนาดใหญ่แล้ว เช่น ปาล์ม ควรตัดใบออกบ้าง

10. พันธุ์ไม้ที่เพิ่งจะย้ายออกมาจากเรือนเพาะชำ ควรจะทำร่มเงาให้ เมื่อปลูกเสร็จแล้ว ผู้ปลูกควรจะต้องให้ความดูแลเอาใจใส่ในระยะแรกจนกว่าไม้ประดับที่ปลูกจะตั้งตัวได้


ที่มา : http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=luckystar&month=06-2009&date=03&group=20&gblog=51


ดอกดาวกระจาย

ดาวกระจาย


ชื่ออื่น : คำแพ
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cosmos sulphureus Cav
วงศ์ : COMPOSITAE
ลักษณะ : ดาวกระจาย เป็นไม้ดอกล้มลุก มีความสูงประมาณ 0.5 ถึง 2 เมตร ดอกมีสีเหลือง
ลักษณะพิเศษ : ไม้ประดับ 
     รายละเอียด : ดาวกระจายมีพุ่มต้นสูง 3-4 ฟุต เป็นไม้ดอกที่พบปลูกตามรั้วบ้าน และขึ้นเองทั่วไปตามริมทาง เมล็ดงอกง่ายเจริญเติบโตเร็วเมื่อต้นโตเต็มที่จะออกดอกสะพรั่งทยอยบานนาน 4- 6 สัปดาห์จากนั้นดอก
จะโรยพร้อมกับติดเมล็ดเพราะดอกเป็นช่อกระจุกตามซอกใบและปลายกิ่งดอกวงนอกเป็นหมันกลีบดอก
มีสีต่างๆมีตั้งแต่สีชมพู ชมพูอมม่วง แดง ขาว กลีบดอกบาง มี 8 กลีบสีเหลืองถึงสมมีหลายพันธุ์เช่นพันธุ์ 
ดอกซ้อนมีพุ่มเตี้ย ส่วนดอกวงในเป็นดอกสมบูรณ์เพศกลีบดอกเป็นหลอดสีเหลืองปลายจักส่วนมากเป็น
ดอกชั้นเดียว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางดอก ประมาณ 3 นิ้ว     
      วิธีการขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด     
      สภาพการปลูก : ดาวกระจายเป็นไม้ดอกอีกชนิดหนึ่งที่ปลูกง่ายเลี้ยงง่ายและโตเร็ว สามารถขึ้นได้ในทุกที่ ๆ มีแสงแดดจัด ไม่ว่าจะเป็นฤดูร้อน หนาวหรือฝน
      การดูแลรักษา : การรดน้ำทำตามความจำเป็น เตรียมดินก่อนปลูกให้พอสมควร เมื่อต้นงอกและมีขนาดโตคือมีใบจริง 2-3 คู่  ใส่ปุ๋ยผสม 15-15-15 หรือใกล้เคียง ต้นละประมาณ 1 ช้อนชา เพียงครั้งเดียว ดาวกระจายจะงามทั้งต้นและดอก 
         แต่มีข้อเสียนิดหน่อย คือ ดาวกระจายมีอายุค่อนข้างสั้น ออกดอก เพียง 3-4 ชุดด้นจะโทรม และตายในที่สุด จึงต้องขยันปลูกใหม่เสมอ



ที่มา : http://www.maipradabonline.com/weekly/dawgajay.htm

การดูแลรักษา

การปฏิบัติดูแลรักษาไม้ประดับ

     การปลูกเลี้ยงไม้ประดับต้องมีการปฏิบัติดูแลอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ไม้ประดับมีความแข็งแรงสวยงามได้นาน จึงควรปฏิบัติต่อไม้ประดับ
1. การให้น้ำ การให้น้ำแก่ไม้ประดับมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต เพราะการให้น้ำมาก/น้อยเกินไป หรือให้น้ำไม่ถูกวิธีทำให้เกิดปัญหากับพืชได้ ดังนั้นการให้น้ำเวลาใดต้องคำนึงถึงความสะดวกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องหลายประการ เช่น ดินปลูก ความชื้นในดิน ฤดูกาล ชนิดพืช ความเข้มแสง อุณหภูมิ ฯลฯ การให้น้ำที่พอดีจะทำให้พืชมีอายุยืนยาว เจริญเติบโตเร็วและสวยงาม


2. การให้ปุ๋ย การให้ปุ๋ยควรพิจารณาความอุดมสมบูรณ์ของวัสดุปลูกเป็นหลัก วัสดุปลูกที่มีความอุดมสมบูรณ์น้อยมีความจำเป็นที่จะต้องใส่ปุ๋ยเพิ่มให้เพียงพอต่อความต้องการของพืช ควรเน้นการให้พวกอินทรียวัตถุ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรืออาจให้ปุ๋ยเคมีบ้างเพื่อปรับสภาพในแต่ละช่วงแต่ละฤดูกาล เช่น ฤดูร้อนจะให้ปุ๋ยในโตรเจนสูง ฟอสฟอรัสต่ำ และโปรแตสเซียมสูงเล็กน้อย ฤดูฝนจะให้ปุ๋ยไนโตรเจนต่ำ ฟอสฟอรัสและโปแตสเซียมสูง ส่วนฤดูหนาวก็จะให้ปุ๋ยไนโตรเจนสูงมากๆ เพื่อกระตุ้นให้พืชตอบสนองต่อการเจริญเติบโต


3. การตัดแต่ง ไม้ประดับหลังจากปลูกไปนานๆ จำเป็นต้องมีการตัดแต่งกิ่งออกไปบ้างโดยใช้กรรไกรตัดแต่ง หรือมีดคมๆ เพื่อรักษาทรงพุ่มให้สวยงามยิ่งขึ้น บางครั้งอาจมีกิ่งหักเสียหาย กิ่งมีโรคและแมลงเข้าทำลายหรือกิ่งแห้งเหี่ยวก็ควรตัดออก นอกจากต้นไม้จะดูสวยงามขึ้นแล้วยังเป็นการรักษาสุขภาพของต้นไม้ให้ดีขึ้นด้วย4) การเปลี่ยนถ่ายกระถาง ไม้ประดับที่ปลูกลงกระถางเมื่อปลูกเลี้ยงจนโตเต็มที่ควรมีการเปลี่ยนกระถางที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือเปลี่ยนดินใหม่ที่มีธาตุอาหารสมบูรณ์กว่าเดิมเพื่อไม่ให้พืชชะงักการเจริญเติบโต โดยการเปลี่ยนกระถางไม้ประดับมีขั้นตอน ดังนี้
      1) เลือกกระถางใหม่ตามขนาดที่ต้องการมาล้างทำความสะอาด
      2) เตรียมวัสดุปลูกเพื่อใส่ในกระถาง
      3) นำต้นพืชออกจากกระถางเก่าและแซะดินเก่าออกประมาณครึ่งหนึ่ง


4. นำต้นพืชลงปลูกในกระถางใหม่ที่ใส่วัสดุปลูกรองพื้นไว้ และเติมวัสดุปลูกลงไปให้เกือบถึงขอบกระถาง กดวัสดุปลูกให้แน่นแล้วรดน้ำให้ชุ่ม


ที่มา : http://www2.it.mju.ac.th/dbresearch/raebase/index.php/base-learning/product1/garden-tree/44-care

การขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ

การขยายพันธุ์ไม้ดอกไม้ประดับ

          การขยายพันธุ์ไม้ประดับไม่ได้แตกต่างจากพืชชนิดอื่นๆ  แต่ต้องพิจารณาถึงชนิดและประเภทของพันธุ์ไม้ วิธีการขยายพันธุ์ไม้ประดับที่ได้ผลดีและนิยมกันมาก ได้แก่ การเพาะเมล็ด การแยกหน่อ การตัดชำ และการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
    การเพาะเมล็ด เป็นการขยายพันธุ์ที่ง่ายและประหยัดที่สุด แต่ก่อนที่จะเพาะเมล็ดนั้นจะต้องรู้ว่าเมล็ดที่จะเพาะมีการพักตัวหรือไม่ เปลือกเมล็ดหนาหรือบาง เมล็ดพืชแต่ละชนิดมีอายุการงอกแตกต่างกัน วัสดุที่ใช้เพาะเมล็ดต้องมีความร่วนซุยและอุ้มน้ำได้ดี โดยส่วนมากใช้วัสดุเพาะที่มีส่วนผสมของทราย+ขี้เถ้าแกลบ+ดินร่วน อัตราส่วน 1:1:1 ใส่ในกระบะเพาะ เมื่อเมล็ดงอกจนมีใบจริงแล้วจึงย้ายปลูกลงกระถางหรือถุงพลาสติกต่อไป พืชที่นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ ได้แก่ พืชตระกูลหมาก ตระกูลปาล์ม เป็นต้น


  การแยกหน่อ เป็นการขยายพันธุ์สำหรับพืชที่มีหน่อหรือมีลำต้นใต้ดิน โดยแยกหน่อที่เกิดรอบๆ ต้นแม่ และต้องระวังในการขุดหรือตัดแยกอย่าให้หน่อหักหรือช้ำ และต้องมีรากติดมาด้วยเสมอ พืชที่นิยมขยายพันธุ์ด้วยวิธีนี้ ได้แก่ พืชตระกูลหมาก ตระกูลปาล์ม และตระกูลกล้วย เป็นต้น


  การตัดชำ เป็นการขยายพันธุ์โดยนำเอาส่วนของพืชที่มีความสามารถในการเกิดรากและเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้ การขยายพันธุ์โดยการตัดชำนี้มีอยู่ 3 วิธี คือ การตัดชำกิ่งหรือลำต้น โดยกิ่งที่จะชำนั้นต้องเป็นกิ่งที่ไม่แก่และไม่อ่อนจนเกินไป อีกวิธีหนึ่ง คือ การตัดชำใบ โดยใช้ส่วนต่างๆ ของใบ เช่น แผ่นใบ ส่วนของใบ ใบที่มีตาติด และก้านใบ นิยมใช้กับพืชที่มีใบใหญ่ หนา หรืออวบน้ำ และวิธีต้ดชำอีกวิธีหนึ่ง คือ การตัดชำราก สามารถทำได้กับพืชบางชนิดเท่านั้น เช่น สน โดยรากที่จะนำมาตัดชำต้องเป็นรากที่สมบูรณ์ไม่มีโรคและแมลงรบกวน


  การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ  เป็นวิธีการขยายพันธุ์เพื่อให้ได้ต้นที่ตรงตามพันธุ์ ปริมาณมากในระยะเวลาสั้น นอกจากนี้แล้วยังสามารถขยายพันธุ์ลูกผสมใหม่ๆ จากการผสมพันธุ์หรือจากการกระตุ้นให้เกิดการกลายพันธุ์ได้ปริมาณมากในระยะเวลาสั้นเช่นเดียวกัน การขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ คือ

ระยะที่ 0) การเตรียมต้นแม่พันธุ์ 
คัดเลือกต้นพันธุ์ดีที่ปลูกในวัสดุปลูกที่สะอาดผ่านการฆ่าเชื้อ มีการป้องกันโรคและแมลง ดูแลให้ปุ๋ยบำรุงพืชให้เจริญเติบโตแข็งแรงและสมบูรณ์ และลดการปนเปื้อนในการนำส่วนต่างๆ มาเป็นชิ้นส่วนตั้งต้น

ระยะที่ 1) การชักนำให้เกิดต้น 
นำชิ้นส่วนตั้งต้นจากส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ยอด ตาข้าง ใบอ่อน หรือดอกอ่อน มาฟอกฆ่าเชื้อ และเพาะเลี้ยงบนอาหารสังเคราะห์
ระยะที่ 2) การเพิ่มปริมาณต้น
นำต้นอ่อนที่ได้มาทำการเพิ่มปริมาณต้นทุกๆ 6-8 สัปดาห์ ขึ้นกับชนิดของพันธุ์พืชที่เพาะเลี้ยง

ระยะที่ 3) การยืดยาวของลำต้นและการกระตุ้นหรือพัฒนาการออกราก
ตัดแยกพืชที่เพาะเลี้ยงให้เป็นต้นเดี่ยว เพาะเลี้ยงในอาหารเพื่อกระตุ้นให้เกิดราก ใช้เวลาประมาณ 3-4 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับชนิดของพืช

ระยะที่ 4) การปรับสภาพและการย้ายปลูกต้นที่ได้จากการกระตุ้นการเกิดราก   
นำต้นกล้าเล็กมาล้างรากให้สะอาด คัดขนาดของต้นให้มีความสม่ำเสมอแล้วย้ายปลูกในสภาพแวดล้อมภายนอกในกระบะที่มีวัสดุปลูกที่นึ่งฆ่าเชื้อแล้วที่มีส่วนผสมของ ดินร่วน:ทรายหยาบ:ใบไม้ผุ:ปุ๋ยคอก อัตราส่วน 1:1:1:1 ทำการปรับสภาพต้นโดยลดอุณหภูมิและเพิ่มความชื้นสัมพัทธ์ซึ่งอาจใช้ระบบพ่นหมอก พ่นฝอย หรือเต็นท์ทำความเย็น และลดความเข้มแสงลงให้เหลือประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ จนกระทั่งต้นสามารถเจริญเติบโตได้ดีจึงค่อยๆ ลดความชื้นสัมพัทธ์ลงพร้อมๆ กับเพิ่มความเข้มแสงซึ่งใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์



ที่มา : http://research.rae.mju.ac.th/raebase/index.php/base-learning/product1/garden-tree/42-propagation